ฟ้า...ในค่ำคืนที่ไร้ดาว อ้างว้างและว่างเปล่า ไม่มีความหมาย ฉัน...ก็มีดวงใจที่ว่างเปล่า จวบจนวันที่เธอก้าวเข้ามาในชีวิต *ไม่ใช่สายน้ำแต่ฉ่ำชื่นหวาน ไม่ใช่ลำธารแต่ไหลผ่านหัวใจ ไม่ใช่ดวงดาวแต่เธอเป็นดั่งดวงหฤทัย คือความหมายที่หา...มานาน **ความรักจดลึกในความทรงจำ ลึกล้ำ ย้ำรอยสลัก นิรันดร์ นั้นนานนัก แต่รักนี้นานกว่านั้น ฟ้ากำเนิดมา ณ เมื่อไหร่ จะดับสลาย ณ เมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้ แต่ฉันมีเพียงเธอที่เฝ้ารอ ตลอดกาลไม่นานพอ ให้ดับความรัก สุทธิพงษ์ วัฒนจัง

Friday, January 25, 2008

ืnote :

มันมากับความมืด (2514) - เขาชื่อกานต์ (2516) - เทพธิดาโรงแรม (2517) - ความรักครั้งสุดท้าย (2517) - ผมไม่อยากเป็นพันโท (2518) - นางแบบมหาภัย (2518) - เทวดาเดินดิน (2519) - รักคุณเข้าแล้ว (2520) - ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520) - กาม (2521) - อุกาฟ้าเหลือง (2523) - ถ้าเธอยังมีรัก (2524) - มือปืน (2526) - อิสรภาพของทองพูน โคกโพ (2527) - ครูสมศรี (2529) - คนเลี้ยงช้าง (2533) - น้องเมีย (2534) - มือปืน 2 สาละวิน (2536) - เฮโรอีีน (2537) - เสียดาย (2537) - เสียดาย 2 (2539) - กล่อง (2541)


7. นานเท่าไหร่ (พิเศษ สังข์สุวรรณ) 8. ดอกสัก (พิเศษ สังข์สุวรรณ) ...


มิลินทปัญหา
งานนี้เป็นการ์ตูนแอนิเมชั่น ผลิตโดยบริษัท แอพพริฌิเอด เอนเตอร์เทนเมนท์จำกัด มีคุณไพบูลย์ นาระกันทา เป็นกรรมการผู้จัดการ เขียนบทโดยคุณพิเศษ สังข์สุวรรณ มี มนตรี เจนอักษร และรอง เค้ามูลคดี เป็นผู้พากย์

พิธีคล้องช้าง (ตำราหลวง)


รูปแบบการนำเสนอ
นำเสนอในรูปแบบการแสดงวิชาคชกรรมประกอบแสง สี เสียง และชีวิต มุ่งเน้นไปที่พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธ์และเป็นเหตุการณ์จริงๆ โดยการนำเสนอเนื้อเรื่องจะบรรยายให้เห็นความสำคัญของคนไทย กับช้างในมิติความเชื่อ การคล้องช้างในเพนียด การฝึกช้าง เพื่อใช้ในราชการสงคราม การละเล่นกับช้างของพนักงานกรมคชบาล (กรมช้าง) ในอดีตจนยุคเปลี่ยนไปวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างของชาวตะวันตก หลั่งไหลเข้ามา การเปลี่ยนบทบาทช้างจากยุทธปัจจัยในการสงครามไปเป็นบทบาทผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมการทำไม้ จนกระทั้งนโยบายปิดป่าของรัฐบาล ดำเนินไปแบบเข้มขึ้นขึ้น ช้างไม่มีบ้าน (ป่า) อยู่พอที่จะยังชีวิตได้ จึงก่อเกิดเป็นปัญหาเกี่ยวกับช้างสั่งสมมาจวบจนปัจจุบัน เพื่อรอความจริงใจในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับช้างจากผู้คนทั้งประเทศ ยังคงรอคำตอบและทางออกจากผู้เข้าชมการแสดงอยู่จนทุกวันนี้
บทการแสดง
โดยนิรนาม, คุณธีรภาพ โลหิตกุล, คุณพิเศษ สังข์สุวรรณ, คุณฉลวย ศรีรัตนา
เส้นเสียงในการแสดง
- เพลงประกอบการแสดงจากกรมศิลปากร
- ขับเสภา โดยอาจารย์ไพศาล วงษ์ศิริ สถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
สถานที่จัดงาน
เพนียดคล้องช้าง ตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กำหนดการแสดง
แสดงระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม 2543 รวม 3 วัน เวลา 19.00 น. เนื่องใน "วันช้างไทย" 13 มีนาคม 2543 วันเสาร์ที่ 11 และวันอาทิตย์ที่ 12 เพิ่มรอบ 20.00 น. งบประมาณ ชมรมคชบาล ผู้สนับสนุน
บัตรเข้าชมการแสดง
- บัตรเข้าชมการแสดงสำหรับคนไทย 200 บาท
- บัตรเข้าชมการแสดงสำหรับชาวต่างประเทศ 700 บาท
- บัตรเข้าชมการแสดงสำหรับนักเรียน นักศึกษา 50 บาท
งานแสดง พิธีคล้องช้าง (ตำราหลวง) 2543 ณ เพนียดคล้องช้าง ท้องทุ่งทะเลหญ้า ต.สวนพริก จ.พระนครศรีอยุธยา 10 - 12 มีนาคม 2543
ชื่อการแสดง พิธีคล้องช้าง (ตำราหลวง) สถานที่จัดการแสดง เพนียดคล้องช้าง ท้องทุ่งทะเลหญ้า ตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดการแสดง แสดงระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม 2543 รวม 3 วัน เวลา 19.00 น. ( วันเสาร์ที่ 11 และวันอาทิตย์ที่ 12 เพิ่มรอบ 20.00 น. )
หมายเหตุ รายได้จากการจำหน่ายบัตรไม่หักค่าใช้จ่ายใดใด สมทบทุนสร้างโรงพยาบาลช้าง พระนครศรีอยุธยา
จุดเด่นของการแสดง การแสดงวิชาคชกรรม ประกอบแสง-เสียง และชีวิต ประกอบช้างกว่า 70 เชือก ในพิธีคล้องช้าง (ตำราหลวง) แบบอย่างโบราณราชเพณี ที่บูรพากษัตริย์ เคยแสดงต้อนรับราชอาคันตุกะ แสดงถึงราชกีฬาที่ยิ่งใหญ่ ตื่นตากับแสง-สี-เสียง ฉากประกอบพิธีกรรมก่อนจะออกคล้องช้าง ฉากการคล้องช้างที่สมจริง ฉากวิถีประเพณี คนไทย และช้างในอดีต ฉากการแสดงการฝึกช้างรบ การล่อแพน, การแทงหุ่น การละเล่นผัดพาน ของกรมคชบาล การสะท้อนปัญหาของช้างในปัจจุบัน ที่ต้องการให้สังคมหันไปมองอย่างจริงจัง

No comments:

เกริ่น หน่อย....

blog นี้ จัดทำโดยสมาชิกในครอบครัว จะใส่ข้อมูลแบบกระจัดกระจาย และมาเชื่อมต่อกันภายหลัง นะคะ